KKday เว็ปไซต์ที่รวบรวมทัวร์รูปแบบต่างๆไว้มากกว่า 53 ประเทศทั่วโลก มาค้นหาทัวร์ทดลองสัมผัสประสบการณ์ในญี่ปุ่นกันเถอะ!
หุบเขาชิราทานิอุนซุย
"หุบเขาชิราทานิอุนซุย (Shirataniunsui-kyo)" เป็นผืนป่ากว้างใหญ่ 424 เฮกเตอร์อยู่ต้นสายของแม่น้ำมิยะโนะอุจิระ (Miyanouchiragawa) และแม่น้ำชิราทานิ (Shiratanigawa) กลางป่าที่ชุกชุมและปกตลุมไปด้วยมอสนั้นมีแม่น้ำชิราทานิไหลผ่าน ให้บรรยากาศของ "ป่ายะคุชิมะ" ได้เป็นอย่างดี มี 3 คอร์สให้เดินชมธรรมชาติได้ซึ่งมีให้เลือกตั้งแต่คอร์ส 1 ชั่วโมงไปจนถึงคอร์ส 4 ชั่วโมง ที่นี่ถือเป็นต้นแบบของภาพยนต์จิบลิเรื่อง "โมโนโนเกะฮิเมะ" ทำให้มีแฟนของสตูดิโอจิบลิมาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก
- ที่อยู่
- Yakushima-Cho, Kumage-gun, Kagoshima 891-4200
- Contact No.
- +81-997-42-3508
- การเดินทาง
- จากท่าเรือ Miyanoura นั่งแท็กซี่ 30 นาที
- Official Website
- http://www.kagoshima-kankou.com/guide/10740/
- Time Required
- 90 นาที
- ค่าเข้า
- 300 เยน
- Other Information
- ※ไม่สามารถเข้าได้ในวันที่สภาพอากาศย่ำแย่ ※ตามกฎต้องลงจากเขาก่อนพระอาทิตย์ตกดิน
※ ข้อมูลบางส่วนนั้นใช้โปรแกรมแปลภาษาของ Google จึงทำให้บางส่วนเป็นภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาอังกฤษ
หรืออาจมีเนื้อหาไม่สมบูรณ์ คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลสป็อตการท่องเที่ยวล่าสุดได้ที่หน้าหลักของเว็บไซต์

ต้นซีดาร์ยะคุชิมะขนาดยักษ์
ใจกลางของชิราทานิอุนซุยเคียวนั้นมีต้นยะคุสึงิซึ่งเป็นซีดาร์พันธุ์พื้นเมืองของยะคุชิมะอายุกว่า 1000 ปีอยู่หลากหลายต้น โดยต้นยะโยอิสึงิที่ใหญ่ที่สุดนั้นมีอายุ 3000 ปี ส่วนโฮโคสึงินั้นมีอายุ 2000 ปีเลยทีเดียว อีกทั้งยังสามารถพบต้นซัมบงอะชิสึงิ และซัมบงยาริสึงิที่มีลักษณะเฉพาะตัวได้อีกด้วย

ป่าที่ปกคลุมไปด้วยมอส ต้นกำเนิดของเรื่องโมโนโนเกะฮิเมะ
หุบเขาชิราทานิอุนซุยนั้นเป็นสถานที่ต้นแบบของป่าในเรื่อง "โมโนโนเกะฮิเมะ" ภาพยนต์ของจิบลิ โดบเป็นป่าที่มีต้นไม้รกทึบ ปกคลุมไปด้วยมอส นอกจากนี้ยังมีกวางยะคุชิกะและลิงยะคุซารุอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ถือเป็นป่าที่ผู้กำกับชื่อดังของจิบลิ มิยาซากิฮายาโอะมาเยี่ยมชมบ่อยครั้งอีกด้วย

หินผาไทโกะอิวะที่สามารถชมป่ายะคุชิมะได้ทั้งหมด
จากหินผาไทโกะอิวะ (Taikoiwa) หากในวันที่อากาศแจ่มใสสามารถมองลงไปเห็นทัศนียภาพมุมกว้างของป่าในยะคุชิมะได้ เริ่มต้นจากมิยะโนะอุจิดาเกะ (Uchidake) ไปจนถึงแม่น้ำอันโบงาวะ (Anbogawa) ที่อยู่บริเวณโคสึงิยะ (Kosugiya) และ โอคุดาเกะ (Okudake)
