ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าชาวญี่ปุ่นนั้นดื่มเพียงแต่สาเก เปล่าหรอก พวกเขาดื่มหลายสิ่งอย่างมาก ทั้งเบียร์หลากหลายชนิด ค็อกเทลหลากรส หลากสีสัน หล้าบ๊วย สาเก ไวน์ วิสกี้ ซึ่งมีตัวเลือกที่หลากหลาย สำหรับเหล้าสาเกนั้นผลิตมาจากข้าวญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึง "ไวน์ข้าว" นั่นเอง ชาวญี่ปุ่นเรียกมันว่า "นิฮงฉุ(Nihonshu)" แด่ผู้รัก Nihonshu ทุกท่าน ・คุณสามารถนิฮนฉุได้ในรูปแบบเย็น ร้อน หรืออุณหภูมิห้อง ซึ่งจะให้รสชาติที่แตกต่างกันออกไป ในฤดูร้อนคุณสามารถดื่ม "เรฉุ(Reishu)" ซึ่งแปลว่าเหล้าสาเกเย็น หรือในฤดูหนาวคุณอาจจะดื่ม "อุสึคัง(Atsukan)" ซึ่งแปลว่าเหล้าสาเกร้อน และสาเกอุณหภูมิห้องที่เรียกว่า "นุรุคัง(Nurukan)" ・Sugidama หรือ Sakabayashi Sugidama ที่ทำจากไม้สนสีแดงของญี่ปุ่น ที่ถูกแขวนไว้ที่หน้าโรงเบียร์ เพื่อเป็นการส่งสัญญาณบอกว่ากำลังอยู่ในขบวนการผลิต Nihonshu อยู่ กระบวนการผลิตจะเริ่มขึ้นในต้นฤดูใบไม้ร่วง และจะเสร็จอย่างเร็วภายในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม สีของ Sugidama จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลเมื่อ Nihonshu ได้เสร็จสิ้นและพร้อมสำหรับการบริโภคแล้ว! ・ถังสาเกจำนวนมากตามศาลเจ้า มีไว้ทำไม? เวลาที่คุณไปเที่ยวศาลเจ้าต่างๆในประเทศญี่ปุ่น คุณจะต้องได้พบกับถังสาเกที่เรียงตั้งสูงแบบนี้อย่างแน่นอน นั่นก็เพราะว่าโรงเบียร์จำนวนมากได้มีการบริจาค ทำบุญแก่วัดหรือศาลเจ้า เพื่อความมั่งคั่งของกิจการ โดยปกติแล้วที่เรียงอยู่นั้นมีไว้เพื่อประดับ(kazari-daru)เท่านั้น แต่ในช่วงเทศกาลมีการให้บริการเครื่องดื่มด้วยค่ะ ระหว่างพิธีกรรมของศาสนาชินโต คุณจะสามารถเห็นพระสงฆ์เท "o-miki" ถวายแก่พระเจ้าและจิบ Sake เพื่อใกล้ชิดกับพระเจ้ามากขึ้น ・เสิร์ฟด้วย tokkuri และดื่มด้วย o-choko ในการดื่มไวน์นั้นก็มีแก้วเฉพาะไวน์ ในการดื่ม Nihonshu ก็มีแก้วเฉพาะการดื่ม Nihonshu โดยเฉพาะเช่นกัน ตามร้านอิซากายะทั่วไปนั้นเมื่อคุณสั่ง Nihonshu คุณจะได้ "tokkuri" ที่มีสาเกอยู่ข้างใน กับแก้วสาเกใบเล็กที่เรียกว่า "o-choko" ・หลัก Omotenashi กับ nihonshu Omotenashi เป็นคำที่เต็มไปความหมายที่ว่า "จิตวิญญาณแห่งการต้อนรับ" การดื่ม nihonshu นั้นต้อนรินลงใน choko ของอีกฝ่าย จึงทำให้เกิดการเทวนรอบวงกัน เพื่อแสดงความมีน้ำใจเอื้อเผื้อเผื่อแผ่ ・Hirezake (sake ปิดท้าย) คือการทำปลาตากแห้ง เช่น ปลาปักเปา ลงไปในถ้วยสาเกคนสักพักเพื่อให้สาเกหอมขึ้น เป็นการดื่มปิดท้ายให้กับวันนี้ รู้อย่างนี้แล้ว ผู้ที่รักสาเกได้อ่านก็คงจะอยากลองแล้วใช่ไหม มาเที่ยวญี่ปุ่นทั้งทีต้องลอง nihonshu ของแท้! รสชาติต้นตำหรับรับรองว่าคุณจะเปลี่ยนใจ หากชอบบทความของเรา สามารถติดตาม Facebook FanPage ของเราได้
ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าชาวญี่ปุ่นนั้นดื่มเพียงแต่สาเก เปล่าหรอก พวกเขาดื่มหลายสิ่งอย่างมาก ทั้งเบียร์หลากหลายชนิด ค็อกเทลหลากรส หลากสีสัน หล้าบ๊วย สาเก ไวน์ วิสกี้ ซึ่งมีตัวเลือกที่หลากหลาย สำหรับเหล้าสาเกนั้นผลิตมาจากข้าวญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึง "ไวน์ข้าว" นั่นเอง ชาวญี่ปุ่นเรียกมันว่า "นิฮงฉุ(Nihonshu)" แด่ผู้รัก Nihonshu ทุกท่าน ・คุณสามารถนิฮนฉุได้ในรูปแบบเย็น ร้อน หรืออุณหภูมิห้อง ซึ่งจะให้รสชาติที่แตกต่างกันออกไป ในฤดูร้อนคุณสามารถดื่ม "เรฉุ(Reishu)" ซึ่งแปลว่าเหล้าสาเกเย็น หรือในฤดูหนาวคุณอาจจะดื่ม "อุสึคัง(Atsukan)" ซึ่งแปลว่าเหล้าสาเกร้อน และสาเกอุณหภูมิห้องที่เรียกว่า "นุรุคัง(Nurukan)" ・Sugidama หรือ Sakabayashi Sugidama ที่ทำจากไม้สนสีแดงของญี่ปุ่น ที่ถูกแขวนไว้ที่หน้าโรงเบียร์ เพื่อเป็นการส่งสัญญาณบอกว่ากำลังอยู่ในขบวนการผลิต Nihonshu อยู่ กระบวนการผลิตจะเริ่มขึ้นในต้นฤดูใบไม้ร่วง และจะเสร็จอย่างเร็วภายในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม สีของ Sugidama จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลเมื่อ Nihonshu ได้เสร็จสิ้นและพร้อมสำหรับการบริโภคแล้ว! ・ถังสาเกจำนวนมากตามศาลเจ้า มีไว้ทำไม? เวลาที่คุณไปเที่ยวศาลเจ้าต่างๆในประเทศญี่ปุ่น คุณจะต้องได้พบกับถังสาเกที่เรียงตั้งสูงแบบนี้อย่างแน่นอน นั่นก็เพราะว่าโรงเบียร์จำนวนมากได้มีการบริจาค ทำบุญแก่วัดหรือศาลเจ้า เพื่อความมั่งคั่งของกิจการ โดยปกติแล้วที่เรียงอยู่นั้นมีไว้เพื่อประดับ(kazari-daru)เท่านั้น แต่ในช่วงเทศกาลมีการให้บริการเครื่องดื่มด้วยค่ะ ระหว่างพิธีกรรมของศาสนาชินโต คุณจะสามารถเห็นพระสงฆ์เท "o-miki" ถวายแก่พระเจ้าและจิบ Sake เพื่อใกล้ชิดกับพระเจ้ามากขึ้น ・เสิร์ฟด้วย tokkuri และดื่มด้วย o-choko ในการดื่มไวน์นั้นก็มีแก้วเฉพาะไวน์ ในการดื่ม Nihonshu ก็มีแก้วเฉพาะการดื่ม Nihonshu โดยเฉพาะเช่นกัน ตามร้านอิซากายะทั่วไปนั้นเมื่อคุณสั่ง Nihonshu คุณจะได้ "tokkuri" ที่มีสาเกอยู่ข้างใน กับแก้วสาเกใบเล็กที่เรียกว่า "o-choko" ・หลัก Omotenashi กับ nihonshu Omotenashi เป็นคำที่เต็มไปความหมายที่ว่า "จิตวิญญาณแห่งการต้อนรับ" การดื่ม nihonshu นั้นต้อนรินลงใน choko ของอีกฝ่าย จึงทำให้เกิดการเทวนรอบวงกัน เพื่อแสดงความมีน้ำใจเอื้อเผื้อเผื่อแผ่ ・Hirezake (sake ปิดท้าย) คือการทำปลาตากแห้ง เช่น ปลาปักเปา ลงไปในถ้วยสาเกคนสักพักเพื่อให้สาเกหอมขึ้น เป็นการดื่มปิดท้ายให้กับวันนี้ รู้อย่างนี้แล้ว ผู้ที่รักสาเกได้อ่านก็คงจะอยากลองแล้วใช่ไหม มาเที่ยวญี่ปุ่นทั้งทีต้องลอง nihonshu ของแท้! รสชาติต้นตำหรับรับรองว่าคุณจะเปลี่ยนใจ หากชอบบทความของเรา สามารถติดตาม Facebook FanPage ของเราได้